วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 

(BEHAVIORAL THEORIES)

                    ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

พฤติกรรมนิยมทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
          1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
          2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
          3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
          1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
          2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิ (Classical Conditioning Theory)
          ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ อีวานเพโทรวิช พาพลอฟ (Ivan Petrovich Pavlop ) นักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เชื่อว่า  พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรม หรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การที่เห็นมะม่วงแล้วน้ำลายไหล การทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย, การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็นพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือ พฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ 


แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
           พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนอง หรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวัน การตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการ
วางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหลเป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response) 


จากการทดลองสรุปได้ว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ จากครั้งเเรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆกับเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้อาหาร  ครั้งต่อๆมาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือน้ำลายไหล ซึ่งนั้นคือการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมหรือการเกิดการเรียนรู้นั่นเอง


แนวคิดของวัตสัน (Watson)
         จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson; 1879-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้นําผลการทดลองจากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ มาขยายไปสู่การศึกษาถึงหลักในการวางเงื่อนไขกับมนุษย์ จากผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ของเขาทําให้วัตสันได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของแนวคิดทางด้านพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) โดยวัตสันได้ นําเสนอแนวคิดดังกล่าวของเขาขึ้นในปี 1913 ซึ่งในทัศนะของวัตสันเขาเชื่อว่า “คนเราเกิดมาพร้อมกับอาการตอบสนอง
บางอย่างที่ติดตัวมาด้วย และหากจะทําให้บุคคลเกิดการ เรียนรู้ก็ต้องนําเอาสิ่งเร้าต่างๆไปผูกไว้กับปฏิกิริยาการตอบสนองขั้นมูลฐานที่ติดตัวมานั้น”

        การทดลองของวัตสัน(Watson’sExperiment)
     ในปี 1920 วัตสันได้ทําการทดลองร่วมกันกับโรซาลี เรย์เนอร์ (Rosalie Rayner) เลขาส่วนตัว ของเขา โดยทําการทดลองภายในห้องทดลองกับลูกชายวัย 11 เดือนของโรซาลี เรย์เนอร์ ที่ชื่อ ว่าอัลเบิร์ตโดยวัตสันสังเกตเห็นว่าอัลเบิร์ตมีหนูขาวอยู่ตัวหนึ่งที่เขารักมันมาก ดังนั้นวัตสันจึง ทําการศึกษาทดลอง เพื่อทําให้อัลเบิร์ตเปลี่ยนพฤติกรรมจากการชอบหนูขาวมาเป็นกลัวหนูขาว และ เมื่ออัลเบิร์ตเกิดความกลัวหนูขาวแล้ววัตสันจึงได้ทําการทดลองโดยการทําให้อัลเบิร์ตกลับไปชอบหนู ขาวอีกครั้งหนึ่ง



               จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
               1)      พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
               2)      เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

        
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ(Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
      ธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง โดยเขาได้ชื่อว่าเป็น นักทฤษฎีการเรียนรู้คนแรกของอเมริกา และ บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา” ธอร์นไดค์ ได้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) ทั้งนี้เพราะ เขาถือว่าการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เพราะเมื่อผู้เรียนพบปัญหา เขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก Trial and Error นั่นคือ ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้
                      ทฤษฎีของธอร์นไดค์ได้ชื่อว่า ความสัมพันธ์เชื่อมโยง” (connectionism) เพราะเขามีความเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเชื่อมโยงระหว่าง S-R ธอร์นไดค์เน้นว่าสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R มากขึ้น หมายความว่า สิ่งเร้าใดทำให้เกิดการตอบสนอง และการตอบสนองนั้นได้รับการเสริมแรง จะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R นั้นมากขึ้น
                      การทดลองของธอร์นไดค์
                      ธอร์นไดค์ทดลอกับแมว โดยสร้างกรงปัญหา (Puzzle Box) ซึ่งทำด้วยไม้ และมีประตูกลเขาจับแมวที่อดอาหารจนหิวใส่กรงปัญหา และปิดประตูกลให้เรียบร้อย โดยการวางจานอาหารไว้นอกกรงให้แมวเห็น แต่ในระยะที่แมวเขี่ยไม่ถึง สถานการณ์เหล่านี้เป็นการสร้างปัญหา เพื่อให้แมวหาทางออก มากินอาหารให้ได้      ธอร์นไดค์ใช้เวลา 5 วันในการทดลองโดยแบ่งเป็นช่วงเช้าและบ่าย วันละ 20 ครั้ง รวมทั้ง 100 ครั้ง และเมื่อทดลองครบ 10 ครั้ง แมวจะได้กินอาหารและหยุดพัก



จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฏีการเรียนรู้ดังนี้



           1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและจะเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ

             2.เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
          สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
                สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ แบบ คือ
          1.  Respondent Behavior คือพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล 
        2.Operant Behavior คือพฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ 
                การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย  สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ



1 ความคิดเห็น: