วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 สรุปหนังเรื่อง Inside Out


หนังเรื่อง Inside Out




 "...เมื่อเจอปัญหาหรืออยู่ในภาวะที่จิตใจกำลังแตกสลาย นั่นคือเราจะพยายามอดกลั้นความเศร้าเอาไว้ และพยายามฝืนมีความสุขกับสิ่งรอบตัว ทั้งๆที่เราไม่โอเค จนสุดท้ายสภาพจิตใจเราก็รวนเรไปหมด" 



1. สรุปหนังเรื่อง Inside Out


        เรื่องราวที่เกิดขึ้นในหนังนั้นเป็นการนำเสนอแง่มุมทางจิตวิทยาของมนุษย์ซึ่งผ่านการคิดในการดัดแปลง “อารมณ์” ให้กลายมาเป็นตัวการ์ตูนทั้งห้าอันประกอบไปด้วย


      1. Joy หรือความร่าเริง (ชื่อไทย ลั้ลลา )  แทนด้วย สีเหลืองอ่อน  คอยทำหน้าที่ควบคุมแผงควบคุมเวลาที่ไรลี่ รู้สึกดีใจ สนุกสนานกับเรื่องต่างๆ รอบตัว คาแรคเตอร์ของ Joy จะเป็นคนชอบความสนุกสนาน มีความสุขกับทุกสิ่งที่ทำ
      2. Sadness หรือความเศร้า (ชื่อไทย เศร้าซึม)  แทนด้วย สีฟ้า คอยทำหน้าที่ควบคุมแผงควบคุมเวลาที่ไรลี่ รู้สึกเสียใจ สิ้นหวังกับเรื่องราวต่างๆ เวลาที่ไรลี่ร้องไห้เธอคนนี้จะเป็นคนคอยควบคุม คาแรคเตอร์ของ Sadness จะเป็นคนมีความทุกข์กับเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดเวลา ชอบทำหน้าไม่มีความสุขตลอดเวลา
      3. Anger หรือความโกรธ (ชื่อไทย ฉุนเฉียว)   แทนด้วย สีแดง   คาแรคเตอร์ของ Anger ก็แน่นอนจะเป็นโกรธง่าย โมโหตลอดเวลา และเวลาโกรธมากๆ จะมีไฟลุกขึ้นที่หัวด้วย คอยทำหน้าที่ควบคุมแผงควบคุมเวลาที่ไรลี่รู้สึกโกรธ โหโห อยากล้างแค้น อยากทำลายข้าวของ
      4. Disgust หรือความรังเกียจขยะแขยง (ชื่อไทย หยะแหยง) แทนด้วย สีเขียว สาวน้อยขี้กลัวผู้อยู่เบื้องหลังความกลัวของไรลี่ โดยเธอคนนี้คอยควบคุมแผงควบคุมเวลาไรลี่ ไม่ชอบอะไรบางอย่าง , ขยะแขยง หรือเกลียดบางสิ่ง

      5. Fear หรือความกลัว (ชื่อไทย กลั๊วกลัว) แทนด้วย สีม่วง มีคาแรคเตอร์ขี้กลัว กลัวแทบทุกอย่าง และจะคอยควบคุมให้ไลรี่กลัวสิ่งที่กลัวนั่นเอง
     

           จากในหนังเราจะพบว่าทุกตัวละครต่างก็มีอารมณ์ทั้ง 5 คอยรับรู้สิ่งเร้าภายนอก เพื่อคอยกำหนดพฤติกรรมการกระทำของตัวละครเหตุการณ์ในชีวิตจะถูกเก็บสะสมอยู่ในลูกบอลความทรงจำ ซึ่งจะมีสีสันตามอารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพจะถูกนำไปสร้างเป็น เกาะแห่งบุคลิกภาพ ที่ซึ่งรวบรวมความทรงจำสำคัญที่กำหนดบุคลิกภาพของตัวละคร
           เรายังพบว่าอารมณ์ทั้ง 5 ของ Riley ยังทำงานได้ไม่สอดประสานกันมากนักเมื่อเทียบกับ อารมณ์ทั้ง 5 ของพ่อและแม่ที่หนังนำเสนอให้เห็น นั่นเพราะเธอยังเด็กพฤติกรรมและการตัดสินใจจึงมาจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล 
           การเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และนั่นก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับ “ไรลีย์” ที่เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง เมื่อพ่อของเธอต้องเริ่มงานใหม่ในซาน ฟรานซิสโก เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกชักนำด้วยอารมณ์ต่างๆของเธอ – ความสุข, ความกลัว, ความโกรธ, ความน่ารังเกียจ และรวมถึง ความเศร้า เรื่องราวต้องเกิดขึ้นเมื่อ ความเศร้า ได้ดันไปทำลายความทรงจำศูนย์กลางของ ไรลี่ย์ จึงทำให้ ความสุข และ ความเศร้า ต้องออกเดินทางเพื่อไปแก้ไขปัญหา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป


2.เรียนรู้อะไรจากเรื่อง Inside Out บ้าง?

     1. อารมณ์
          พอคนเราโตขึ้น อารมณ์ความรู้สึกของเราก็ย่อมซับซ้อน (หรือเข้าใจยาก) มากขึ้น กับสิ่งแต่ละสิ่ง หรือกับความทรงจำแต่ละเรื่อง เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกเดียวเสมอไป เราอาจจะสุขเศร้าโกรธกลัวหรือรังเกียจมันไปพร้อมๆ กันก็ได้
นอกจากนี้ ถึงแม้การมองโลกในแง่ดี หรือพยายามเอ็นจอยกับทุกอย่างบนโลกจะเป็นเรื่องที่ดี แต่เราไม่จำเป็นต้องฝืนหรือพยายามเป็นคนที่แฮปปี้ตลอดเวลาก็ได้ ความรู้สึกบางอย่าง แม้แต่ความเศร้าเอง ก็มีคุณค่าในตัวของมันในเวลาของมัน และเป็นความทรงจำที่ดีได้ไม่น้อยไปกว่าความทรงจำที่มีแต่ความสุข  "ทุกอารมณ์มีความหมาย "    ที่สำคัญ…คนเราทุกคนมีสิทธิที่จะโกรธ เศร้า หรือกลัวในบางเวลา แต่เราแค่ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ทั้งห้านั้นให้แสดงออกมาให้ถูกที่ ถูกเวลา และในปริมาณที่เหมาะสม
         
      2. ความทรงจำ 
Memory Orbs  ความทรงจำแต่ละเรื่องๆ จะถูกเก็บไว้ใน Memory Orbs หรือลูกแก้วกลมๆ สีต่างๆ ตามอารมณ์ ณ ขณะนั้น (ยกเว้น factual information) ซึ่งลูกแก้วความทรงจำทั้งหลายจะเก็บอยู่ใน Long Term Memory ที่เป็นเชลฟ์ๆ เป็นไลบรารี่ เรียงรายคดเคี้ยวเป็นเขาวงกตเหมือนรอยหยักในสมองคน (หรือจะเปรียบเทียบกับการที่คนสมัยนี้เลือกเก็บรูปถ่ายแห่งความทรงจำต่างๆ ไว้ใน drive ต่างๆ ก็ไม่ผิดนัก)  ความทรงจำหลักๆ จะถูกเก็บเป็น Core Memory ซึ่งเป็นตัวกำหนด Personality ของคนคนนั้น (Personality Islands) โดย Riley มี Personality Islands จากความทรงจำหลักในวัยเยาว์ทั้งสิ้น 5 เกาะด้วยกัน ได้แก่ Goofball Island, Friendship Island, Hockey Island, Honesty Island, และ Family Island     ความทรงจำหลักหรือ Core Memory นั้น 
อาจเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือพังทลายลงได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ตามคนคนนึงอาจจะมี Personality Islands มากกว่า 1 เกาะ จนไปถึงกี่เกาะก็ได้ โดยเห็นได้ชัดว่า ยิ่งโตขึ้น บุคลิกภาพของคนเราก็ยิ่งพัฒนามากขึ้นหรือซับซ้อนยิ่งขึ้น ก็คงต้องมีเกาะใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ (ในขณะที่เกาะบางเกาะอันเก่าก็อาจจะสึกหรอหรือพังครืนลงได้ด้วยเช่นกัน) เช่นเดียวกับ control board ใน “Head” Quarters ที่พอคนโตขึ้น Emotions ก็ยิ่งมีเยอะปุ่มขึ้นเยอะแยะละลานตา  
          ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลา มันก็ต้องถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่งไว้คอยเช็ค faded memories หรือความทรงจำที่ไร้ค่าแล้ว  โยนทิ้งลงไปในเหว Memory Dump อันมืดมนตลอดกาล

     3. ความคิด Train of Thought จะวิ่งฉึกกะฉักก็ต่อเมื่อเราตื่นนอนเท่านั้น และจะหยุดวิ่งก็ต่อเมื่อเรานอนหลับ รถไฟความคิดวิ่งไปเรื่อยๆ ในหัวเราอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน และโดยปกติจะมี route มุ่งไปสู่  “Head” Quarters ด้วย แสดงให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เราแสดงออกนั้น โดยส่วนใหญ่ก็ล้วนมีพื้นฐานมาจากความคิด ความรู้ ความทรงจำ หรือประสบการณ์ชีวิตของเราด้วยนั่นเอง
ส่วนความคิดนามธรรม (Abstract Thought) นั้น ในหนังมี 4 stages แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม Abstract Thought ไม่ใช่สิ่งที่คนเราจะมีมันมาตั้งแต่เกิด โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นตอนเราอายุประมาณ 10 ขวบขึ้นไป และความคิดที่ไม่ได้เป็นรูปธรรม

     4. จินตนาการ    Imagination Land ของ Riley สวยงาม สดใส และน่ารักน่าชังตามประสาเด็กน้อยโลกสวย ในโลกแห่งจินตนาการของเธอมี Bing Bong เพื่อนในจินตนาการที่หน้าตาเหมือนสัตว์สามสปีชีส์ผสมพันธุ์กัน จนไปถึง “แฟนในฝัน” ที่หล่อสมาร์ท และพร้อมจะตายเพื่อเธอ   Imagination Land ในวัยเด็กของทุกคนก็คงสวยงาม กว้างใหญ่ไพศาล กันทั้งนั้น แต่ปัญหาคือ ยิ่งเราโตขึ้น Imagination Land ของเราก็ยิ่งเล็กลง… แปรรูป… หรืออาจสูญหายไปเลยก็ได้… แล้วแต่คน

         5. ความฝัน   Dream Productions จะทำงานก็ต่อเมื่อเรานอนหลับ และหยุดทำงานก็ต่อเมื่อเราตื่น (ตรงกันข้ามกับ Train of Thought) โดยวัตถุดิบที่ทีมผลิตฝันเอามาเมคความฝันขึ้นมาแต่ละคืนนั้น ก็มีมูลมาจากความทรงจำ ประสบการณ์ หรือจินตนาการของเราทั้งสิ้น
โดยทั่วไป เวลาเราฝันดีอย่างมีความสุข เราจะไม่อยากตื่น แต่ถ้าความฝันนั้นเป็นเรื่องราวที่น่าเกลียดน่ากลัว เราจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นกลไกของสมองทั้งสิ้นเช่นกัน
           6. จิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึก (Subconcious) เป็นส่วนที่ถูกเก็บไว้ลึกสุดในก้นบึ้งจิตใจของมนุษย์ ในนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่เรากลัวที่สุดหรือเกลียดที่สุด ซึ่งก็มักจะเป็นอะไรสักอย่างที่เรามีความทรงจำที่โคตรเลวร้ายชนิดจำฝังใจกับมันมาแต่ชาติปางก่อน

         แน่นอนว่าในสมองของเราคงไม่ได้มีแค่ Emotions’ Headquarters ไว้ผลิตอารมณ์หรือสั่งการความรู้สึกอย่างเดียว หากแต่ต้องมีส่วนที่เป็นความทรงจำ (Memory Orbs), ความคิด (Train of Thought), ความคิดนามธรรม (Abstract Thought), จินตนาการ (Imagination Land), ความฝัน (Dream Productions), และจิตใต้สำนึก (Subconcious) ด้วย ตามที่กล่าวมาข้างต้น
         "  ทั้งหมดนี้คือกลไกที่อยู่ในสมองของเรา ซึ่ง Inside Out เขาจำลองสมองใหม่ออกมาได้เป๊ะทุกดีเทล  และพาพวกเราไป explore ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ดูง่าย ดูเพลิน สนุกจนไม่อยากให้ทัวร์นี้จบลงเลย…"

3. อ้างอิงทฤษฏีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น จากการดูหนัง Inside Out 


   1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนัง เมื่อ Riley ยังเด็กพฤติกรรมและการตัดสินใจมาจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล  เมื่อเป็นเด็กเรายังคงแสดงอารมณ์ได้ไม่ซับซ้อนนัก แสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมาก สุข, เศร้า, เหงา, โกรธ แต่เมื่อโตขึ้นการแสดงอารมณ์ก็ซับซ้อนขึ้นตาม ดั่งจะเห็นได้จากตอนช่วงสุดท้ายของเรื่องที่มีการสร้างที่ควบคุมอารมณ์ใหม่เพื่อให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น มี Core Memory แบบผสมมากมาย ขยะแขยง-กลัว, โกรธ-มีความสุข หรือโกรธ-เศร้า สิ่งที่เด่นชัดอีกอย่างก็คือ การที่ Bing Bong ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อให้ Joy ขึ้นหน้าผาได้ เปรียบเสมือนการเติบโตของ Riley ที่คงไม่ได้นึกถึงเพื่อนในจินตนาการอีกต่อไป ซึ่งตามทฤษฎีของเพียเจต์คนเราจะค่อยๆปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆก็จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลมากกว่าตัดสินใจมาจากอารมณ์

     2. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel)  จากทฤษฏี  คือ เมื่อ Riley  มีประสบการณ์และมีความคิดที่จะเชื่อมโยงความตั้งใจกับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ ทำให้  Riley สามารถแก้ปัญหาจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ความเศร้าที่ใครๆ ก็เห็นว่าไม่เป็นจำเป็น ในบางเวลากลับเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด จะเศร้าบ้างก็ได้ และในทางกลับกันความสนุกสนานก็ไม่ได้สามารถใช้แก้ทุกปัญหาเช่นกัน ในการแก้ปัญหานั้นบางครั้งเราก็ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย เมื่อเรียนรู้ถึงสิ่งนี้ได้ ก็พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  ความขัดแย้งนี้ถูกโยงไปยังการก้าวข้ามผ่านวัย (Coming of Age) ของ Riley 

    3.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier)  จากหนังInside Out  วามทรงจำแต่ละเรื่องๆ จะถูกเก็บไว้ใน Memory Orbs หรือลูกแก้วกลมๆ สีต่างๆ ตามอารมณ์ ณ ขณะนั้น (ยกเว้น factual information) ซึ่งลูกแก้วความทรงจำทั้งหลายจะเก็บอยู่ใน Long Term Memory ที่เป็นเชลฟ์ๆ เป็นไลบรารี่ เรียงรายคดเคี้ยวเป็นเขาวงกตเหมือนรอยหยักในสมองคน  
       ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลา มันก็ต้องถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่งไว้คอยเช็ค faded memories หรือความทรงจำที่ไร้ค่าแล้ว โยนทิ้งลงไปในเหว Memory Dump อันมืดมนตลอดกาล ตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่า "จะมีเพียงเเต่สิ่งเร้าที่ผู้เรียนใส่ใจที่จะรับรู้เท่านั้น จะคงอยู่นานพอที่จะนำไปบันทึกหรือแปรรูปแบบเก็บไว้ในความจำระยะสั้นเเบะความจำระยยะยาวต่อไป

     4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง คือ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่ที่ตนรู้ จากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ  ซึ้งจากหนังInside Out  ที่ Riley มีความสามารถทางด้านกีฬาฮอกกี้ เมื่อ Riley ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา 







2 ความคิดเห็น: