วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่1


คำถามท้ายบทที่ 1 

1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร

ตอบ  = MOOCs (Massive Open Online Courses)  ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภท การเรียนการสอน  เพราะปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก  เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้าน E-learning มีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC”

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร

ตอบ  = มี 5 ประเภท
  2.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
  ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
  2.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน
  ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถ ตอบสนองการเรียนรายบุคคล
  2.3 นวัตกรรมสื่อการสอน
  ข้อดี คือ เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมิเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  2.4 นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
  ข้อดี คือ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว
  2.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ
  ข้อดี คือ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก


3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (lndividual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ  = นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)

เพราะ จะเห็นว่าสื่อการเรียนการสอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการเรียนการสอนประเภท “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” นับว่าเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทั้งนี้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์ และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ตอบ  =  เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยยกระดับการสอนของครู  ซึ่งเป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน  การใช้เทคโนโลยีจึงต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาและการใช้เทคโนโลยียังมีความสำคัญในการจัดระบบการศึกษา  ซึ่งตอบสนองผู้เรียนได้เป็นจำนวนมาก  เช่น  งานบริหารการศึกษา  งานพัฒนาการศึกษา  นอกจากนั้นเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการสอน  ให้มีความสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น  ดังนั้น  นักศึกษาวิชาชีพครู  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และสนใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา


5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด  ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆ มา 1 ประเภท

ตอบ = นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ นวัตกรรมสื่อการสอน  ซึ่งนวัตกรรมสื่อการสอน

     ข้อดี
            1.  เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
            2.  เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาการสอนให้สั้นลง
            3.  ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนง่ายขึ้น  กระตุ้น และเร้าความสนใจ ไม่เบื่อในการเรียน  รวมทั้งให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

     ข้อจำกัด
            1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
            2. เสียสุขภาพสายตาจากการได้รับแสงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์







นางสาวนิรัชพร  ดาวเรือง รหัส 553410080112 สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ 











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น